วันอังคารที่ 5 มีนาคม พ.ศ. 2556

หลักการเขียน Resume เขียน Resume อย่างไรให้ได้งาน


รูปแบบ
·         ให้เลือกทำ และส่ง Resume ด้วยไฟล์ Microsoft Word (หรือไม่ก็เป็น PDF)

·         ก่อน ที่เราจะลงมือเขียน ให้นึกถึงผู้ที่จะอ่านมันเป็นอันดับแรก ไม่ว่าคนๆ นั้นจะเป็นกรรมการบริหาร ฝ่ายทรัพยากรบุคคล ฝ่ายออกแบบ ฝ่ายการตลาด ฝ่ายการสื่อสาร ฝ่ายวิศวกรรม หรือฝ่ายค้นคว้าวิจัยก็ตาม พวกเขาย่อมต้องการจะรู้ว่า คุณมีคุณสมบัติอะไรที่สอดคล้องกับความต้องการของแผนกเขาบ้าง

·         Resume ไม่ควรมีความยาวเกิน 2 หน้ากระดาษ A4 (สำหรับ บัณฑิตใหม่ เขียนแค่หน้าเดียวก็พอ) โดยให้ระบุข้อมูลที่สำคัญที่สุดจากด้านบนของหน้าแรก เช่น ชื่อ เบอร์โทรศัพท์ และอีเมลติดต่อ ตำแหน่งที่คุณต้องการสมัคร และประสบการณ์ที่คุณมี สถานที่ และเบอร์ติดต่อ

·         ใน Resume นั้นไม่จำเป็นต้องเขียนที่อยู่เต็มก็ได้ แต่ต้องเขียนเมือง รัฐ หรือประเทศให้ชัดเจน หาก Resume ของเรายาว 2 หน้า ก็ควรเขียนชื่อที่ด้านบนของหน้าที่ 2 ด้วย และหากไม่สะดวกที่จะให้ติดต่อที่ทำงาน ก็ไม่ต้องใส่เบอร์โทรศัพท์หรืออีเมลที่ทำงานไว้ (รวมถึงไม่ควรส่ง Resume จากอีเมลที่ทำงานด้วย)

·         หากที่อยู่ปัจจุบันของเราเป็นที่อยู่ชั่วคราวก็ต้องชี้แจงให้ชัดเจน และควรเขียนที่อยู่ถาวรพร้อมเบอร์โทรศัพท์ไว้ด้วย

·         ถ้า เรามีเบอร์ติดต่อหลายเบอร์ เช่น เบอร์ที่ติดต่อได้ตอนกลางวัน เบอร์ที่ติดต่อได้ตอนกลางคืน หรือเบอร์โทรมือถือ ก็ต้องระบุให้ชัด อาจใส่อีเมลที่จะทำให้ติดต่อสะดวกยิ่งขึ้น (แต่ไม่ควรใช้ชื่ออีเมลที่ไม่สุภาพหรือไร้สาระเด็ดขาด)
เป้าหมาย และความสนใจ
·         ต่อ จากข้อมูลเรื่องสถานที่ติดต่อ เราควรสรุปความใฝ่ฝัน ความสนใจ ประสบการณ์ ทักษะ และเป้าหมายของเราด้วย โดยข้อสรุปนี้ไม่ควรยาวเกินสามบรรทัด

·         ควร เตรียมข้อสรุปข้างต้นไว้มากกว่าหนึ่งแบบ เพื่อใช้ในการสมัครงานในตำแหน่งที่แตกต่างกัน (แต่ถ้าไม่สามารถเขียนข้อสรุปได้ดี ขอแนะนำว่าไม่ควรจะเขียนเลย)
ประสบการณ์ด้านอาชีพ
·         แจกแจงประวัติการทำงานโดยเรียงลำดับตามปี และให้เริ่มจากงานสุดท้ายก่อน

·         ระบุ ข้อมูลของช่วงเวลาที่เราทำงาน (เดือน และปี) ตามด้วยชื่อบริษัท คำจำกัดความของบริษัท (เช่น ผู้ผลิตเฟอร์นิเจอร์ หรือที่ปรึกษาด้านการบริหารแบรนด์ เป็นต้น) ที่ตั้ง ตำแหน่งงานของเราที่บริษัทนั้น และระบุหน้าที่ความรับผิดชอบให้ชัดเจน

·         หาก ไม่มีตำแหน่งที่ชี้ชัด (ตามฝ่ายหรือแผนก) อาจจะระบุรายละเอียดงาน (ประเภทงานที่คุณทำ) ไปแทนก็ได้ เช่น วิศวกรอุตสาหกรรม กรรมการบริหารด้านการค้นคว้า สถาปนิก หรือกราฟิกดีไซเนอร์ เป็นต้น

·         ในส่วนของการแจกแจงผลงาน ควรเน้นเฉพาะผลงานที่ผ่านมาในระยะเวลาอันใกล้ หลีกเลี่ยงรายละเอียดงานที่ผ่านมาเกิน 15 ปี ในแต่ละโครงการให้ระบุหน้าที่ของเรา จำนวนคนภายใต้บังคับบัญชา หรือจำนวนคนในตำแหน่งที่คล้ายกับเรา (เช่นคุณเป็นหนึ่งในสามของผู้จัดการฝ่ายออกแบบ) อาจกล่าวถึงความสัมพันธ์กับเพื่อนร่วมงานด้วย

·         หาก เคยเป็นที่ปรึกษา เราควรแจงรายชื่อลูกค้า และโครงการที่เคยทำให้ลูกค้าเหล่านั้นอย่างชัดเจน (ไม่ต้องกล่าวถึงงานชั่วคราว นอกเสียจากว่างานนั้นมีผลต่อตำแหน่งที่คุณกำลังสมัคร)
·         บัณฑิตใหม่ให้ระบุงานที่เคยทำในช่วงที่เป็นนิสิตนักศึกษา เช่น งานช่วงปิดเทอม งานช่วยสหกรณ์ เป็นต้น

·         ถ้าเรามีประสบการณ์อาชีพค่อนข้างมาก สามารถเขียน Resume ได้ถึง 2 หน้า ในหน้าที่ 2 นั้นให้เน้นรายละเอียดด้านประสบการณ์การทำงาน อาจใช้หัวข้อว่า จุดเด่นในหน้าที่การงานก็ ได้ โดยให้ใส่ข้อมูลเพิ่มเติมจากหน้าแรก เช่น งบประมาณที่เคยบริหาร โครงสร้างของทีมงาน หน้าที่การจ้างงาน การควบคุมฝ่ายขาย หรือแม้กระทั่งการเดินทางไปทำงานในต่างประเทศ เป็นต้น

·         โดย ปกติแล้วถ้าเราอยู่ในตำแหน่งงานใดเป็นเวลานาน ก็ควรให้ข้อมูลตรงจุดนั้นมากหน่อย แต่หากงานนั้นผ่านมาเนิ่นนานแล้ว ก็ไม่จำเป็นต้องนำมาใส่ใน Resume นอกจากว่างานนั้นจะมีผลต่อการสมัครงานครั้งนี้เป็นอย่างมาก

·         จากประวัติงานในอดีต หากมีหน้าที่ความรับผิดชอบใดที่เราไม่ต้องการจะทำอีก เราก็ไม่ควรเน้นถึงตรงนั้น

·         จงรำลึกเสมอว่า ข้อมูลข้อเท็จจริงนั้นสามารถตรวจสอบได้ง่ายมากบริษัทใหญ่ๆ มักจะทำการตรวจสอบข้อมูลที่เราให้ไว้ ฉะนั้นควรหลีกเลี่ยงข้อมูลเท็จ และตรวจทานวันที่ให้แน่นอน

ที่มา www.tcdcconnect.com

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น